โพสต์แนะนำ

วิธี การวัดขนาด และแจ้งสเปคงานเพือสอบถามราคากระดาษต่อเนื่อง

สวัสดีค่ะ  วันนี้แอดมินจะมาแจ้งวิธีการวัดขนาดและแจ้งสเปคงานเพื่อสอบถามราคาสินค้านะคะ  1. ขนาด = แจ้งขนาดความกว้าง และสูง โดยวัดเป็นนิ้ว ...

27 เม.ย. 2560

หลักการเขียนเบอร์โทร ที่ถูกต้อง ตามหลักสากล


            วิธีการเขียนเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยนั้นหลัก ๆ จะเขียนเลขท้าย 8 ตัว แบบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 4 ตัว โดยคั่นด้วยการเว้นวรรค ส่วนเครื่องหมายขีดนั้นจะใช้เขียนต่อท้ายเบอร์ที่มีหลายเบอร์ย่อย ใช้แทนคำว่า “ถึง” สำหรับตัวอย่างการเขียนเบอร์โทรศัพท์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล, เบอร์ต่างจังหวัด และเบอร์โทรศัพท์มือถือ มีดังนี้


วิธีเขียนเบอร์โทรศัพท์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

          เบอร์โทรศัพท์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีทั้งหมด 9 หลัก และขึ้นต้นด้วยรหัส 02 โดยใช้ช่องว่างแยกกลุ่มตัวเลข เช่น 0 2123 4567

หรือถ้ามีเบอร์ย่อยให้เขียนเป็น 0 2123 4567-9 เพื่อบอกว่าสามารถเลือกโทร. ได้ทั้งเบอร์ 0 2123 4567, 0 2123 4568 และ 0 2123 4569

ข้อควรระวัง!!

เลิกใช้วงเล็บ                                         ไม่ควรเขียนว่า (02) 123 4567

เลิกใช้เครื่องหมายขีด (-) ระหว่างตัวเลข      ไม่ควรเขียนว่า 02-123-4567

เลิกใช้ช่องว่างรวมกับเครื่องหมายขีด (-)      ไม่ควรเขียนว่า 02 123-4567

 

วิธีเขียนเบอร์โทรศัพท์ต่างจังหวัด

           เบอร์โทรศัพท์ต่างจังหวัดจะมีทั้งหมด 9 หลักเช่นกัน โดยยกตัวอย่างเบอร์โทรศัพท์ในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ขึ้นต้นด้วยรหัส 034 ให้เขียนเป็น 0 3412 3456 ส่วนกรณีมีเบอร์ย่อยหลายเบอร์ ให้เขียนโดยใช้เครื่องหมายขีดต่อท้ายเหมือนกับเบอร์โทรศัพท์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

02 คือ เบอร์จากจังหวัดในบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล

          02 : กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, นครปฐม (บางส่วนของอำเภอพุทธมณฑล)

03 คือ เบอร์จากภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก

          032 : เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ราชบุรี
          033 : ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี
          034 : กาญจนบุรี, นครปฐม (ยกเว้นบางส่วนของอำเภอพุทธมณฑล), สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม
          035 : อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, สุพรรณบุรี
          036 : ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี
          037 : นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว
          038 : ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง
          039 : จันทบุรี, ตราด

04 เบอร์จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

          042 : บึงกาฬ, เลย, มุกดาหาร, นครพนม, หนองบัวลำภู, หนองคาย, สกลนคร, อุดรธานี
          043 : กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด
          044 : บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, สุรินทร์
          045 : อำนาจเจริญ, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, ยโสธร

05 คือ เบอร์จากภาคเหนือและภาคกลางตอนบน

          053 : เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน
          054 : ลำปาง, น่าน, พะเยา, แพร่
          055 : กำแพงเพชร, พิษณุโลก, สุโขทัย, ตาก, อุตรดิตถ์, พิจิตร (อำเภอสามง่ามและวชิรบารมี)
          056 : ชัยนาท, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, พิจิตร (ยกเว้นอำเภอสามง่ามและวชิรบารมี), อุทัยธานี

07 คือ เบอร์จากภาคใต้

          073 : นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา
          074 : พัทลุง, สตูล, สงขลา
          075 : กระบี่, นครศรีธรรมราช, ตรัง
          076 : พังงา, ภูเก็ต
          077 : ชุมพร, ระนอง, สุราษฎร์ธานี

 

วิธีเขียนเบอร์โทรศัพท์มือถือ

          สำหรับเบอร์โทรศัพท์มือถือนั้นจะมีทั้งหมด 10 หลัก โดยขึ้นต้นด้วย 08 หรือ 09 ซึ่งให้เขียน 08 นำหน้าก่อน แล้วตามด้วยหมายเลขอีก 8 หลัก

ยกตัวอย่างเช่น 08 1234 5678

 

ข้อควรระวัง!!

เลิกใช้วงเล็บ                                         ไม่ควรเขียนว่า (081) 234 5678 , (08) 1234 5678

เลิกใช้เครื่องหมายขีด (-) ระหว่างตัวเลข      ไม่ควรเขียนว่า 081-234-5678 , 08-1234-5678

เลิกใช้ช่องว่างรวมกับเครื่องหมายขีด (-)      ไม่ควรเขียนว่า 081 234-5678

 

วิธีเขียนเบอร์โทรศัพท์ประเทศไทยให้ชาวต่างชาติ

          ถ้าหากต้องการเขียนเบอร์โทรศัพท์ประเทศไทย เพื่อให้คนที่อยู่ต่างประเทศโทรมา จะต้องบอกรหัสประเทศนำหน้าไปด้วย โดยให้ แทนที่เลข 0 ด้วยรหัสประเทศ +66 ตามด้วยหมายเลขที่เหลือตามปกติ ซึ่งเป็นไปตามหลักของการเขียน Country code + Subscriber numbers

ยกตัวอย่างเช่น +66 2123 4567, +66 3212 3456 หรือ +66 8 1234 5678 เป็นวิธีเขียนที่เรียบง่ายและเป็นที่เข้าใจในระดับสากล

 

ข้อควรระวัง!!

ไม่ควรเขียน (662) 3456789 เพราะไม่ควรใช้วงเล็บและขาดเครื่องหมาย+

ไม่ควรเขียน +66 23 456789 เพราะแบ่งกลุ่มตัวเลขไม่เหมาะสม

ไม่ควรเขียน +66(0) 23456789 เพราะไม่จำเป็นต้องมีเลข 0 ให้สับสน

ไม่ควรเขียน +66-2345-6789 เพราะไม่ควรใช้เครื่องหมายขีด (-) ที่ทำให้ดูสับสนเมื่อมีทั้งเครื่องหมายบวก (+) และลบ (-) อยู่ร่วมกัน

 

          ดิฉัน นางสาว นริสรา ลอองสุวรรณ ผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน หากเกิดข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วยค่ะ

          ขอขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ wwwkapook.com และบทความจากคุณ Chisanakan  http://oknation.nationtv.tv/blog/Pasakorn


31 ม.ค. 2560

รางวัลประจำปี 2559

"ไม่ถึงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน"

ขอบคุณ บริษัท ท็อป ฟอร์มส คอมพิวเตอร์ จำกัด 
สำหรับรางวัล "พนักงานดีเด่น ประจำปี 2559" ค่ะ 
เป็นรางวัลแรกของการทำงานเลย ดีใจและภูมิใจมากค่ะ ^__^


นริสรา ลอองสุวรรณ