โพสต์แนะนำ

วิธี การวัดขนาด และแจ้งสเปคงานเพือสอบถามราคากระดาษต่อเนื่อง

สวัสดีค่ะ  วันนี้แอดมินจะมาแจ้งวิธีการวัดขนาดและแจ้งสเปคงานเพื่อสอบถามราคาสินค้านะคะ  1. ขนาด = แจ้งขนาดความกว้าง และสูง โดยวัดเป็นนิ้ว ...

15 ก.ค. 2554

คุณสมบัตเครื่องพิมพ์ดอทเมตริกซ์ (Dot matrix Printer) ยี่ห้อ OKI



เครื่องพิมพ์ ยี่ห้อ OKI (โอกิ)





1. OKI ML790

80 คอลัมน์
1 ต้นฉบับ + 4 สำเนา
หน่วยความจำ 128 kb
20000 ชั่วโมงการใช้งาน
ใส่ขนาดกระดาษ กว้าง 3.0 - 10.0 นิ้ว


2. OKI ML791
136 คอลัมน์
1 ต้นฉบับ + 4 สำเนา
หน่วยความจำ 128 kb
20000 ชั่วโมงการใช้งาน
ใส่ขนาดกระดาษ กว้าง 3.0 - 1ุ6.0 นิ้ว

** ทางบริษัทฯ ไม่มีจำหน่ายเครื่องปรินท์เตอร์ แนะนำคุณสมบัติเพื่อเหมาะกับการใช้งานเท่านั้น **

คุณสมบัติเครื่องพิมพ์ดอทเมตริกซ์ (Dot matrix Printer) ยี่ห้อ Epson

             กระดาษต่อเนื่องจะติดชัดเจนทุกใบถึงใบสุดท้ายที่ใช้งานไหม การเลือกซื้อเครื่องปรินท์เตอร์ก็มีผลต่อการใช้งานเช่นกันค่ะ เพราะหากลูกค้าเลือกใช้เครื่องปรินท์เตอร์ไม่ตรงกับลักษณะงานที่ใช้ จะส่งผลให้กระดาษเคมีก้อปปี้ติดชัดเจนไม่ถึงใบสุดท้ายที่ใช้งาน

            ดังนั้นดิฉัน นางสาวนริสรา ลอองสุวรรณ จึงหาข้อมูล และทำการสรุปรายละเอียดมาให้ลูกค้าเลือกซื้อเครื่องปรินท์เตอร์ให้เหมาะกับลักษณะงานที่ใช้นะคะ 

 















** หมายเหตุ ทางร้านไม่ได้จำหน่ายเครื่องปรินท์เตอร์ **

อ้างอิงข้อมูลสินค้าจาก : https://www.epson.co.th/ และ https://www.ofm.co.th/
หากผิดพลาดประการใด ทางดิฉัน นางสาวนริสรา ลอองสุวรรณ (ผู้จัดทำ) ต้องขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วยค่ะ  







1 มี.ค. 2554

วิธี การวัดขนาด และแจ้งสเปคงานเพือสอบถามราคากระดาษต่อเนื่อง

สวัสดีค่ะ 

วันนี้แอดมินจะมาแจ้งวิธีการวัดขนาดและแจ้งสเปคงานเพื่อสอบถามราคาสินค้านะคะ 

1. ขนาด = แจ้งขนาดความกว้าง และสูง โดยวัดเป็นนิ้ว
                 กว้างวัดรวมรูหนามเตยจากซ้ายไปขวา และ สูง วัดจากบนลงล่าง


                 โดยมาตราฐานของไซส์งาน จะอยู่ที่ ไซส์ 9x11 นิ้ว (A4) , 9.5x11 นิ้ว , 9x5.5 นิ้ว (ครึ่งนึงของ A4)
และไซส์ พิเศษ มีหลากหลายขนาด เช่น 9x7",5x11",9x3.66",9x12",7.5x8.5" ฯลฯ ซึ่งทางโรงงานจะสามารถผลิตงานได้ไซส์เล็กสุด คือหน้ากว้าง 4.5 นิ้ว   
                 ** ไซส์พิเศษนี้ ลูกค้าต้องมีโปรแกรมบัญชีปรินทงานโดยตรง เพื่อรองรับการพิมพ์ใ้ห้ีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น **


2. จำนวนสำเนา = แจ้งจำนวนสำเนาของเอกสารว่าใน 1 ชุด มีกี่ใบ

               โดยให้ยึดหลักจากการใช้งานจริงว่าต้องการเอกสารกี่ใบชุด ต้องให้ลูกค้ากี่ใบ และบริษัทเก็บไว้กี่ใบ     

กระดาษเคมี 4 ใบ/ชุด
กระดาษเคมี3ใบ/ชุด

           
เอกสารออกเป็นชุด 5ใบ/ชุด

              มาตราฐานของสำเนา ที่ใช้ปรินท์งานเอกสารออกเป็นชุดนั้นจะอยู่ที่ 5 ใบ/ชุด  โดยจำแนกเบื้องต้นดังนี้
                 2.1 ต้นฉบับใบกำกับภาษี / ใบส่งสินค้า / ใบแจ้งนี้   สำหรับ ลูกค้า
                 2.2 สำเนาใบกำกับภาษี / ใบส่งสินค้า / ใบแจ้งนี้     สำหรับ ลูกค้า
                 2.3 สำเนาใบกำกับภาษี / ใบส่งสินค้า / ใบแจ้งนี้     สำหรับ บริษัท (หรือบัญชี)
                 2.4 ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน    สำหรับลูกค้า
                 2.5 สำเนาใบเสร็จรับเงิน      สำหรับบริษัท (หรือบัญชี)
                 ** ทั้งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามลักษณะการใช้งานจริงของลูกค้า **






3. พิมพ์กี่สี = สีหมึกที่จะให้พิมพ์ลงไปในกระดาษมีกี่สี 
(ไม่เกี่ยวกับจำนวนสีกระดาษในแต่ละใบเพราะสีกระดาษลูกค้าสามารถเลือกสีได้อยู่แล้วค่ะ)
พิมพ์1สี (สีน้ำตาล)
พิมพ์1สี (สีฟ้า)

พิมพ์2สี (สีฟ้า+สีดำ)

พิมพ์2สี (สีเหลือง+สีดำ)

พิมพ์ 4 สี (ดำ+เหลือง+เขียว+ฟ้า)

สนใจติดต่อสอบถามเข้ามาได้ที่เบอร์ 089-1787495 , 086-3030603
หรือที่ไลน์ mod_topforms นะคะ 

"ยินดีบริการทุกท่านค่ะ"

20 ก.พ. 2554

หลักการเลือกซื้อเครื่องพริ้นเตอร์


หลักการเลือกซื้อเครื่องพริ้นเตอร์
ควรพิจารณาจากคุณลักษณะที่สำคัญของเครื่องพิมพ์ดังต่อไปนี้

1. จำนวนเข็มของหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ทั่วไปหัวพิมพ์มีเข็มเล็ก ๆ จำนวน 9 เข็ม แต่ถ้าต้องการให้งานพิมพ์มีรายละเอียดมากหรือมีรูปแบบตัวหนังสือสวยขึ้น หัวพิมพ์ควรมีจำนวนเข็ม 24 เข็ม การพิมพ์ตัวหนังสือในภาวะความสวยงามนี้เรียกว่า เอ็นแอลคิว (News Letter Quality : NLQ) ดังนั้นเครื่องพิมพ์ที่หัวพิมพ์มีเข็มจำนวน 24 เข็ม จะพิมพ์ได้สวยงามกว่าเครื่องพิมพ์ที่หัวพิมพ์มีเข็มจำนวน 9 เข็ม

2.  คุณภาพของหัวเข็มกับงานพิมพ์  หัวเข็มเป็นลวดที่มีกลไกขับเคลื่อน ใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า หัวเข็มที่มีคุณภาพดีต้องแข็ง สามารถพิมพ์สำเนากระดาษหนาได้สูงสุดถึง 5 สำเนา คุณสมบัติการพิมพ์สำเนานี้เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องจะพิมพ์ได้ไม่เท่ากันเพราะมีคุณภาพแรงกดไม่เท่ากัน ทำให้ความชัดเจนของกระดาษสำเนาสุดท้ายต่างกัน

3.  ความละเอียดของจุดในงานพิมพ์  ความละเอียดของจุดในงานพิมพ์จะขึ้นอยู่กับขนาดของหัวเข็มและกลไกการขับเคลื่อนของเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่น เช่น 360x360 จุดต่อนิ้ว 360x180 จุดต่อนิ้ว คุณภาพการพิมพ์ภาพกราฟิกขึ้นอยู่กับคุณลักษณะนี้

 4.  อุปกรณ์ตรวจสอบหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์แบบจุดบางรุ่นจะมีอุปกรณ์ตรวจสอบหัวพิมพ์ เช่น
การตรวจสอบความร้อนของหัวพิมพ์ เพราะเมื่อใช้พิมพ์ไปนาน ๆ หัวพิมพ์จะเกิดความร้อนสูงมาก แม้มีครีบระบายความร้อนแล้ว ก็อาจไม่พอเพียง ถ้าความร้อนมาก อุปกรณ์ตรวจความร้อนจะส่งสัญญาณให้เครื่องพิมพ์ลดความเร็วของการพิมพ์ลง ครั้งเมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะเพิ่มความเร็วของการพิมพ์ไปเต็มพิกัดอีก
การตรวจสอบความหนาของกระดาษ เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ตรวจสอบกระดาษ ถ้าป้อนกระดาษหนาไปจะทำให้หัวพิมพ์เสียหายได้ง่าย ตัวตรวจสอบความหนาจะหยุดการทำงานของเครื่องพิมพ์ เมื่อตรวจพบว่ากระดาษหนาเกินไป เพื่อป้องกันความเสียหายของหัวพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถสอบว่ากระดาษหมดหรือไม่อีกด้วย

5. ความเร็วของการพิมพ์ ความเร็วของการพิมพ์ มีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที การวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ต้องมีคุณลักษณะการพิมพ์เป็นจุดอ้างอิง เช่น พิมพ์ได้ 300 ตัวอักษรต่อวินาที ในภาวะการพิมพ์แบบปกติ และที่ขนาดตัวอักษร 10 ตัวอักษรต่อนิ้วแต่หากพิมพ์แบบเอ็นแอลคิว (NLQ) โดยทั่วไปแล้วจะลดความเร็วเหลือเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น การทดสอบความเร็วในการพิมพ์นี้อาจไม่ได้เท่ากับคุณลักษณะที่บอกไว้ ทั้งนี้เพราะขณะพิมพ์จริง เครื่องพิมพ์มีการเลื่อนหัวพิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่ ขึ้นหน้าใหม่ การเลื่อนหัวพิมพ์ไปมาจะทำให้เสียเวลาพอสมควร ความเร็วของเครื่องพิมพ์แบบจุดในปัจจุบันมีตั้งแต่ 200-500 ตัวอักษรต่อวินาที

6.  ขนาดแค่พิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้มีขนาดแคร่ 2 ขนาด คือใช้กับกระดาษกว้าง 9 นิ้ว และ 15 นิ้ว หรือพิมพ์ได้ 80 ตัวอักษร และ 132 ตัวอักษรในภาวะ 10 ตัวอักษรต่อนิ้ว

7. ที่พักข้อมูล คุณลักษณะในเรื่องที่พักข้อมูล (buffer) ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการพิมพ์งานนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลลงไปเก็บในที่พักข้อมูล ถ้าที่พักข้อมูลมีขนาดใหญ่ก็จะลดภาระการส่งงานของคอมพิวเเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ได้มาก ขนาดของที่พักข้อมูลที่ใช้มีตั้งแต่ 8 กิโลไบต์ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม เครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถเพิ่มเติมขนาดของที่พักข้อมูลได้ โดยการใส่หน่วยความจำลงไป ซึ่งต้องซื้อแยกต่างหาก
8.  ลักษณะการป้อนกระดาษ การป้อนกระดาษเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานเครื่องพิมพ์ คุณลักษณะที่กำหนดจะต้องชัดเจน การป้อนกระดาษมีตั้งแต่การใช้หนามเตย ซึ่งจะใช้กับกระดาษต่อเนื่องที่มีรูด้านข้างทั้งสองด้าน เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มีหนามเตยอยู่แล้ว การป้อนกระดาษอีกแบบหนึ่ง คือ การใช้ลูกกลิ้งกระดาษโดยอาศัยแรงเสียดทานซึ่งเป็นคุณลักษณะของเครื่องพิมพ์ทั่วไ ป เครื่องพิมพ์บางรุ่นมีการป้อนกระดาษแบบอัตโนมัติ เพียงแต่ใส่กระดาษแล้วกดปุ่ม Autoload กระดาษจะป้อนเข้าไปในตำแหน่งที่พร้อมจะเริ่มพิมพ์ได้ทันที การป้อนกระดาษเป็นแผ่น ส่วนใหญ่จะป้อนด้วยมือได้ แต่หากต้องการทำแบบอัตโนมัติจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว อุปกรณ์นี้จะมีลักษณะเป็นถาดใส่กระดาษอยู่ภายนอกและป้อนกระดาษไปทีละใบเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์บางเครื่องสามารถป้อนกระดาษเข้าเครื่องได้หลายทาง ทั้งจากด้านหน้า ด้านหลัก ด้านใต้ท้องเครื่อง หรือป้อนทีละแผ่น การป้องกระดาษหลายทางทำให้สะดวกต่อการใช้งาน

9.  ภาวะเก็บเสียง เครื่องพิมพ์แบบจุดเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีเสียงดัง ดังนั้นบางบริษัทได้พัฒนาภาวะการพิมพ์ที่เสียงเบาเป็นปกติ เพื่อลดภาวะทางเสียง

10.  จำนวนชุดแบบอักษร เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีจำนนชุดแบบอักษร (font) ภาษาอังกฤษ ที่ติดมากับเครื่องจำนวน 4 ถึง 9 ชุด ขึ้นกับเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นชุดแบบอักษรนี้สามารถเพิ่มได้โดยใช้ตลับชุดแบบอักษรภาษาไทย ก็เป็นสิ่งสำคัญ เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่ที่ขายในเมืองไทยได้รับการดัดแปลงใส่ชุดแบบอักษรภาษาไทยไว้แล้ว

11.  การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานสากลมีสองแบบ คือแบบอนุกรมและแบบขนาน เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มักต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยมีสายนำสัญญาณแบบ DB25 คือมีขนาดจำนวน 25 สาย การต่อกับเครื่องพิมพ์จะต้องมีสายเชื่อมโยงนี้ด้วย หากต้องการต่อแบอนุกรม จะต้องกำหนดลงไปในเงื่อนไข เพราะเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีตัวเชื่อมต่ออนุกรมเป็นเงื่อนไขพิเศษ

12.  มาตรฐานคำสั่งการพิมพ์ เนื่องจากเครื่องพิมพ์ Epson ได้รับความนิยมมานาน ดังนั้น มาตรฐานคำสั่งการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ Epson จึงเป็นมาตรฐานที่เครื่องพิมพ์เกือบทุกยี่ห้อใช้ อย่างไรก็ตามเครื่องพิมพ์ไอบีเอ็มก็มีมาตรฐานของตนเองและเครื่องพิมพ์บางยี่ห้อก็ใช้ตาม

คำศัพท์ที่ใช้กับเอกสารจำพวก B/L (Bill of Loading)

คำศัพท์ที่ใช้กับเอกสารจำพวก B/L (Bill of Loading)

คำศัพท์เกี่ยวกับวิธีการจัดส่งสินค้าและการจ่ายเงิน 

(
การจ่ายเงิน)

1.REMITTANCE  =  
การโอนเงิน

2.PAYMENT =
การจ่ายเงิน

3.SHIPPER =
ผู้ส่งสินค้า

4.RECEIPT =
ใบเสร็จรับเงิน

5.LETTER OF GUARANTEE =
หนังสือค้ำประกัน
อ้างอิงจาก http://www.cargothai.com/7adjactive.asp

(
การจัดส่งสินค้า)

1.BILL OF LADING  = 
ใบตราส่งสินค้าทางเรือ

2.CARRIER  = 
สายการบินที่ทำการขนส่งสินค้า

3.BULK CARRIER  = 
เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนสินค้าประเภทเทกองและสินค้าที่เป็นของเหลว

4.FLIGHT/DATE  =
เที่ยวบินและวันที่เครื่องออก

5.FREIGHT FORWARDER =
ตัวแทนผู้รับขนส่งสินค้า
อ้างอิงจาก www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1145 
ขอบคุณข้อมูลความรู้นี้จาก คุณ Patchara_2JZ-GTE Turbo 
Chakkaphong - http://chakkaphong101.blogspot.com/



การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้


        ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้จัดทำใบกำกับภาษี หรือใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้แล้ว ต่อมาหากได้รับการร้องขอจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ หรือใบแทนใบลดหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้น โดยดำเนินการดังนี้

       1.   ถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสำเนาใบลดหนี้ และให้บันทึกรายการดังนี้ลงในภาพถ่ายหรือด้านหลังของภาพถ่ายดังกล่าว
          (1)   ใบแทนออกให้ครั้งที่
          (2)   วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
          (3)   คำอธิบายย่อ ๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน
          (4)   ลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทน

       2.   ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งออกใบแทนตาม 1. บันทึกรายการตาม (1) - (4) ไว้ด้านหลังสำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสำเนาใบลดหนี้ด้วย

       3.   ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ หมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายประจำเดือนที่ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่/เล่มที่ วันที่ของใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ที่ได้มีการออกใบแทน
ที่มา : กรมสรรพากร ปรับปรุงครั้งล่าสุด : 25 มีนาคม 2547

ความหมายของการออกใบกำกับภาษี

ความหมายของการออกใบกำกับภาษี

       ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง

         - กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ

         - กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ

        ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างน้อย 2 ฉบับ ดังนี้

         - ต้นฉบับ ผู้ประกอบการต้องส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

         - สำเนา ผู้ประกอบการต้องเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ทำรายงาน

        สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และหากผลการคำนวณภาษีปรากฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ถือเป็นเครดิตภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่คำนวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นำเครดิตภาษีไปชำระยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีกก็มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้

        ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป ก็มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น


ที่มา : กรมสรรพากร ปรับปรุงครั้งล่าสุด : 25 มีนาคม 2547

นริสรา ลอองสุวรรณ